เมนู

เหล่านั้นแล้วกระทำอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิให้เป็นบาท แล้วกำหนด
นามรูปและปัจจัยแห่งนามรูปนั้น ย่อมเห็นธรรมคือขันธ์ 5 ไม่วิปริตโดยชอบ
ตามลำดับมีการพิจารณากลาปะ (กลุ่มก้อน) เป็นต้น โดยความเป็นของไม่
เพียงเป็นต้น. บทว่า อปฺปมาทรตา ได้แก่ ยินดี คือยินดียิ่งในความไม่
ประมาท ด้วยการเจริญสมถะและวิปัสสนามีประการดังกล่าวแล้ว คือไม่ให้คืน
และวันล่วงไปด้วยความประมาทในธรรมนั้น . บทว่า สนฺตา แปลว่ามีอยู่. บาลี
ว่า สตฺตา ดังนี้บ้าง. อธิบายว่า ได้แก่บุคคล. บทว่า ปมาเท ภยทสฺสิโน
ได้แก่เห็นภัยในความประมาทมีการเข้าถึงนรกเป็นต้น. บทว่า อภพฺพาปริหา-
นาย
ได้แก่ ชนเห็นปานนั้นเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อมรอบจากธรรม
คือสมถะและวิปัสสนา หรือจากมรรคผล. ด้วยว่าชนทั้งหลายไม่เสื่อมจาก
สมาบัติ คือ สมถวิปัสสนา และย่อมบรรลุมรรคผลที่ตนยังไม่บรรลุ. บทว่า
นิพพานสฺเสว สนฺติเก ได้แก่ ในที่ใกล้แห่งนิพพานและแห่งอนุปาทิเสส-
นิพพานนั้นเอง. ไม่นานนัก ชนเหล่านั้นจักบรรลุนิพพานนั้นด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสัลลานสูตรที่ 8

9. สิกขาสูตร


ว่าด้วยสิกขามีอานิสงส์ 2 อย่าง


[224] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็นอานิสงส์ มี

ปัญญายิ่ง มีวิมุตติเป็นสาระ มีสติเป็นใหญ่อยู่เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
เธอทั้งหลายมีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญายิ่ง มีวิมุตติเป็นสาระ มีสติเป็น
ใหญ่อยู่ พึงหวังผล 2 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
เรากล่าวมุนีผู้มีสิกขาบริบูรณ์ มี
ความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา มีปัญญายิ่ง มี
ปกติเห็นที่สุด คือความสิ้นไปแห่งชาติ
ผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุดนั้นแล ว่า
ผู้ละมาร ผู้ถึงฝั่งแห่งชรา เพราะเหตุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดี
ในฌาน มีจิตตั้งมั่นแล้วในกาลทุกเมื่อ
มีความเพียร มีปกติเห็นที่สุด คือ ความ
สิ้นไปแห่งชาติ ครอบงำมารพร้อมด้วย
เสนาได้แล้ว เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติ และ
มรณะ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบสิกขาสูตรที่ 9

อรรถกถาสิกขาสูตร


ในสิกขาสูตรที่ 9 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า สิกฺขา ในบทว่า. สิกฺขานิสํสา นี้ เพราะต้องศึกษา.
สิกขานั้นมี 3 อย่าง คือ อธิสีลสิกขา 1 อธิจิตตสิกขา 1 อธิปัญญาสิกขา 1
ซึ่งว่า สิกฺขานิสํสา เพราะมีสิกขา 3 อย่างนั้นเป็นอานิสงส์ มิใช่ลาภ สักการะ
และความสรรเสริญ บทว่า วิหรถ ได้แก่ เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็น
อานิสงส์อยู่เถิด. อธิบายว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้เห็นอานิสงส์ในสิกขา 3 อย่าง
นั้น คือ เห็นอานิสงส์ที่ควรจะได้ด้วยสิกขา 3 อย่างนั้นอยู่เถิด. บทว่า
ปญฺญตรา ความว่า ชื่อว่า มีปัญญายิ่ง เพราะในสิกขา 3 อย่างนั้นมี
ปัญญา ได้แก่ อธิปัญญาสิกขา มีปัญญานั้นยิ่ง คือ เป็นประธานประเสริฐสุด.
อธิบายว่า ผู้ที่มีสิกขาเป็นอานิสงส์อยู่ เป็นผู้มีปัญญายิ่ง ดังนี้. บทว่า วิมุตฺติ-
สารา
ได้แก่ ชื่อว่า มีวิมุตติเป็นสาระ เพราะมีวิมุตติอันได้แก่ อรหัตผลเป็น
สาระ. อธิบายว่า ถือเอาวิมุตติตามที่กล่าวแล้วนั่นแล โดยความเป็นสาระแล้ว
ตั้งอยู่. จริงอยู่ ผู้ที่มีสิกขาเป็นอานิสงส์และมีปัญญายิ่ง ย่อมไม่ปรารถนาภพวิ-
เศษ. อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายหวังความเจริญ ย่อมปรารถนาวิมุตติเท่านั้นโดย
ความเป็นสาระ. บทว่า สตาธิปเตยฺยา ได้แก่ชื่อว่า มีสติเป็นใหญ่ เพราะ
มีสติเป็นใหญ่ ด้วยอรรถว่า ทำให้เจริญ. อธิปติ นั่นแลทำให้เป็น อธิปเตยฺยํ
อธิบายว่า มีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน 4 ขวนขวายในการเจริญสมถะและวิปัสสนา
ด้วยหลักวิปัสสนามีกายานุปัสสนาเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความในบทนี้
อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็นอานิสงส์
กระทำการศึกษาสิกขา 3 อย่าง ในการได้ขณะที่ได้ยากเห็นปานนี้ ให้เป็น